นำเข้าสินค้าจากจีน “สั่งด้วยตัวเอง” หรือ “ฝากสั่งกับชิปปี้ง” แตกต่างกันอย่างไร?

นำเข้าสินค้าจากจีน “สั่งด้วยตัวเอง” หรือ “ฝากสั่งกับชิปปี้ง” แตกต่างกันอย่างไร?

18/11/2021



นำเข้าสินค้าจากจีน “สั่งด้วยตัวเอง” หรือ “ฝากสั่งกับชิปปี้ง” แตกต่างกันอย่างไร?


นำเข้าสินค้าจากจีนแบบไหนถึงจะเหมาะกับคุณที่สุด จะสั่งเองหรือฝากสั่งกับชิปปิ้ง โดยสั่งซื้อสินค้าจาก 3 เว็บไซต์ยอดนิยมของจีน คือ Taobao Tmall และ 1688 ซึ่งวิธีไหนถึงจะคุ้มที่สุด หากเราไม่เคยมีประสบการณ์ในการนำเข้าสินค้ามาเลย แน่นอนว่าอาจจะต้องเลือกใช้วิธีการฝากสั่งกับชิปปิ้ง! แต่จะแพงกว่าการสั่งซื้อเองหรือไม่…


แบบแรก คือ การสั่งสินค้าจีนด้วยตัวเอง วิธีนี้สามารถสั่งซื้อได้เองโดยผ่านแอพพลิเคชั่น Taobao, Tmall, Alibaba และ Aliexpress ซึ่งจะต้องทำการสั่งซื้อและชำระเงินด้วยตัวเอง ผ่านช่องทางบริการต่าง ๆ เช่น Alipay หรือตัดผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น และสินค้าที่เหมาะกับการสั่งซื้อด้วยตัวเอง ควรจะเป็นสินค้าที่ไม่มีรายละเอียดเยอะ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดปัญหาในการสั่งซื้อสินค้าและติดต่อกับร้านค้าจีน 


       เหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่คุยกับร้านค้าจีนได้เองพอสมควร สื่อสารภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษได้พอสมควร เพราะเวลาเกิดปัญหา เช่น ไม่ได้รับของ สินค้าไม่ตรงปก หรือปัญหาใดใดก็ตาม คุณจะต้องทำการติดต่อกับทางร้านค้าจีน หรือเว็บไซต์จีนนั้น ๆ ด้วยตัวเอง 


       ซึ่งวิธีการสั่งซื้อสินค้าจากจีนด้วยตัวเอง เมื่อสั่งซื้อสินค้า ชำระเงินหรือประสานงานกับร้านค้าจีนเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมขอที่อยู่ของชิปปิ้งที่จีน เพื่อนำมากรอกในระบบร้านค้าของเว็บ Taobao, Tmall หรือ 1688 เนื่องจากร้านค้าจีนจะไม่สามารถนำส่งสินค้ามาถึงไทยให้เราได้โดยตรง! 


ข้อดี  

- ไม่มีค่าบริการฝากสั่ง 

- ประหยัดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในระยะยาว

ข้อเสีย 

- ต้องสื่อสารกับร้านค้าจีนได้ 

- ขั้นตอนในการสั่งซื้อค่อนข้างยุ่งยาก 

- ไม่เหมาะกับมือใหม่


แบบที่สอง คือ การฝากสั่งกับชิปปิ้ง พูดง่าย ๆก็คือ เหมือนการฝากคนกลางซื้อของจากจีนให้นั่นเองค่ะ ซึ่งบริการฝากสั่งกับชิปปิ้งตอนนี้มีอยู่หลายเจ้ามาก ๆ ที่ให้บริการอยู่ คุณสามารถเลือกหาได้เลยค่ะ มิสโอเตะจะขอแยกออกเป็น 3 แบบ ดังนี้ 

1) ฝากสั่งกับชิปปิ้ง ที่ไม่คิดค่าบริการฝากสั่ง แต่อาจจะมีค่าขนส่งที่เรทราคาสูงกว่าเจ้าอื่น ๆ หรือสูงกว่าค่าขนส่งปกติทั่วไป ซึ่งถ้าเพิ่งเริ่มต้นขายอาจจะง่ายต่อการสั่งซื้อและนำเข้า แต่ในระยะยาว เมื่อร้านเราโตขึ้นเราต้องสต็อกของเพิ่มขึ้นในจำนวนมาก การเลือกชิปปิ้งที่ไม่คิดค่าบริการฝากสั่งอาจจะกลายเป็นเพิ่มต้นทุนสินค้าในการขายของได้เช่นกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความประทับใจในบริการของชิปปิ้งนั้น ๆ

2) คิดค่าบริการฝากสั่งจากยอดสั่งซื้อ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น สั่งซื้อสินค้า 1,000 บาท คิดค่าบริการฝากสั่ง 50 บาท เท่ากับเป็น 5% ของมูลค่าสินค้ารวมที่สั่งซื้อไป ซึ่งไม่รวมกับค่าขนส่งนำเข้า ฉะนั้น หากเราสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ค่าบริการฝากสั่งก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

3) ฝากสั่งกับชิปปิ้งที่มีค่าบริการฝากสั่งชัดเจน คือ ไม่ว่าจะสั่งซื้อสินค้าเท่าไรก็ตามจะคิดค่าบริการราคาเดียว เช่น จะสั่งซื้อ 1,000 5,000 หรือ 10,000 ก็คิดค่าบริการราคาแค่ 100 บาทไม่บวกเพิ่ม แต่ก็ต้องดูอีกว่าค่าขนส่งจะถูกหรือแพงกว่ากันเท่าไรค่ะ 


      ซึ่งบริการฝากสั่งกับชิปปิ้งทั้ง 3 แบบ จะมีบริการสั่งซื้อ ชำระเงินและประสานงานกับร้านค้าจีนให้ โดยลูกค้าไม่ต้องยุ่งยากในขั้นตอนเหล่านี้เลย เพียงแค่มีสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ และเข้าไปใช้งานในระบบเว็บของชิปปิ้งนั้น ๆ ก็สามารถนำเข้าสินค้าจีนได้ง่าย ๆ 


      สำหรับอัตราค่าบริการและค่าขนส่งของแต่ละเจ้าก็จะแตกต่างกันไป บางเจ้าอาจจะมีค่าบริการสูงหน่อยแต่ได้ระบบการใช้งานเว็บที่มีคุณภาพ ไม่ยุ่งยาก ถามตอบได้ตลอดเวลา มีแอดมินคอยให้คำปรึกษาอย่างเว็บ Ote.co ของเรา ก็ทำให้ลูกค้าอยากสั่งซื้อและนำเข้ากับชิปปิ้งต่อไปเรื่อย ๆ และที่สำคัญมั่นใจได้ว่าจะได้รับสินค้าที่สั่งซื้อไปอย่างแน่นอน เพราะมีการติดตามสถานะออเดอร์สินค้า รวมถึงหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการสั่งซื้อ ชิปปิ้งจะเป็นฝ่ายติดต่อและประสานงานกับทางร้านค้าจีนให้


ข้อดี 

- ระบบเว็บไม่ยุ่งยาก

- เหมาะสำหรับนำเข้าสินค้าจีนมือใหม่

- ไม่ต้องติดเรื่องสื่อสารกับร้านค้าจีน

- สามารถใช้งานภาษาไทยได้ง่าย ๆ

- ปรึกษาหรือสอบถามกับชิปปิ้งได้


ข้อเสีย 

- ค่าบริการขนส่งและนำเข้าอาจจะสูงกว่าการสั่งซื้อนำเข้าด้วยตัวเอง


และทั้งหมดนี้ก็คือรูปแบบของการสั่งซื้อนำเข้าสินค้าจากจีน ที่มือใหม่หลายคนสงสัยค่ะ ซึ่งการนำเข้าสินค้าจีนไม่ว่าจะ “สั่งด้วยตัวเอง” หรือ “ฝากสั่งกับชิปปี้ง” ควรเลือกให้เหมาะกับตัวเราเอง ลองพิจารณากันดูนะคะว่าแบบไหนที่เราสะดวกและสบายใจที่สุดค่ะ 


นำเข้าสินค้าจีนด้วยระบบ OTE